Zigbee ใช้งานยังไง ตอนที่ 4


ด้วยพลังของ Zigbee นั้นทำให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมบางอย่างใช้งานสะดวกขึ้น ในแบบที่หาไม่ได้ในแบบสัญญาณ Wifi (*1)
.
[สวิตช์ผนังแบบไม่ใช้สาย N]
-บ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีสาย N (Neutral Line) เดินมาที่สวิตช์ เหตุผลเพราะไม่มีความจำเป็น ไม่มีสายนี้สวิตช์ป๊อกแป๊กบ้านๆซึ่งไม่มีวงจรอะไรก็ทำงานได้ แต่ Smart switch ต้องการสาย N เพื่อให้ครบวงจรและทำงานเองได้
.
แต่วงจร Zigbee ใช้จุดเด่นด้านการใช้พลังงานต่ำมากในการขับวงจร จึงออกแบบวงจรให้ใช้ไฟเพียงเล็กน้อยที่ไหลในสาย L1 (แม้สถานะหลอดจะปิด) ที่มีอยู่แล้วมาใช้งาน โดยที่เราไม่ต้องดัดแปลงอะไรเลย (นอกจากการใช้หลอดวัตต์สูงป้องกันไฟกระพริบ)
(รายละเอียด: https://www.facebook.com/109384814063772/posts/235490764786509/)
.
ถูกใจพ่อบ้านสายไม่ใช่ช่างมากๆ ไม่ต้องปีนเพดานถอดโคมเพื่อต่อคาปาซิเตอร์เหมือนแบบ wifi และทำให้สมาร์ทโฮมเข้าถึงง่ายขึ้น
.
[สวิตช์ไร้สาย (Wireless switch หรือ Scene switch)]
-เรื่องใช้พลังงานต่ำขอให้ยกให้พี่เค้า Zigbee จึงมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Scene switch เป็นปุ่มกดออกมาที่ใช้พลังงานจากถ่านแต่อยู่ได้ยาวนาน สามารถกดสั่งทุกอุปกรณ์และทุก Scene (เช่น ปิดไฟ+ปิดแอร์+เปิดระบบความปลอดภัยในอีก 10 นาที) ที่เราตั้งขึ้นในแอพได้ และแน่นอนว่าไม่ได้จำกัดเฉพาะอุปกรณ์ Zigbee แต่จะสั่งอุปกรณ์ Wifi, Bluetooth, RF, IR ก็ได้
(รายละเอียด: https://www.facebook.com/109384814063772/posts/227332088935710/)
.
หากจะทำ Scene switch แบบ Wifi ออกวางขาย คงได้ปวดหัวกับการเปลี่ยนถ่านบ่อยๆหรือชาร์จแบตบ่อยๆ จึงมีอยู่น้อยมากในตลาด
.
[Zigbee wall switch + Scene switch แก้ปัญหาไฟ 2 ทาง]
-และเมื่อนำ 2 ตัวนี้มาใช้คู่กัน เราก็จะสามารถเสกสวิตช์ 2 ทาง (เช่น สวิตช์เปิดปิดไฟบันไดบนล่าง) ได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องปวดหัวกับการเดินสายไฟหรือหารุ่นสวิตช์ที่รองรับ แถมยังทำงานได้แม้ไม่มีเน็ตอีก จึงเป็นที่นิยมมากใน solution นี้
.
ไม่ใช่แค่สวิตช์ 2 ทางที่บันได เราจะทำสวิตช์ 2 ทางที่หัวเตียงเพื่อปิดไฟห้องนอน-ห้องน้ำก็ทำได้ หรือจะทำสวิตช์ 3 ทาง 4 ทางเพื่อปิดไฟที่จุดเดียวกันก็ย่อมทำได้
.
(*1) Solution เหล่านี้จริงๆ BLE (Bluetooth Low Energy) ก็ทำได้ แค่ผลิตภัณฑ์ยังหายากอยู่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *