7 เหตุผลที่ควรใช้ Homekit

[7 เหตุผลที่ควรใช้ Homekit]
.
[สั้นๆ สำหรับคนไม่อยากอ่านยาว]
[1.] ระบบทำงานแบบ Local : เน็ทล่มก็อาจไม่รู้สึก
[2.] สร้างเงื่อนไขข้ามค่าย : ใช้หลายยี่ห้อปนกันก็สร้างเงื่อนไขสั่งกันเองได้
[3.] ประมวลผลที่ Home hub : Homepod ทำงานหนักกว่าที่เราคิด
[4.] Siri shortcuts : เราจะเข้าถึงแทบทุกอุปกรณ์แม้ไม่ใช่ Homekit
[5.] เป็นหนึ่งเดียวกับ iPhone : Smooth as silk!!
[6.] ติดตั้งง่ายมากกกกก : อย่าตกใจถ้าอุปกรณ์ Apple จะติดตั้งง่าย
[7.] ความเป็นส่วนตัว : ค่ายนี้เค้าอะไรๆ ก็ Privacy
.
————————————
.
ถ้าใครใช้ iPhone อยู่ เชื่อว่าเวลาจะเริ่มสมาร์ทโฮมคงเคยพิจารณาถึงระบบ Homekit ที่เป็นแพล็ทฟอร์มสมาร์ทโฮมของ Apple
.
ปัจจุบันอุปกรณ์ที่รองรับ Homekit ไม่ได้แพงเหมือนในอดีต การเลือกแพล็ทฟอร์มสมาร์ทโฮมเมื่อเทียบกับอีก 2 แพล็ทฟอร์มยักษ์อย่าง Google กับ Alexa จึงเป็นการตัดสินใจที่สูสีขึ้นกว่าเดิม
.
วันนี้ผมจะพูดถึง 7 เหตุผลที่เราควรใช้ Homekit ให้ฟัง
.
[1. ระบบโดยรวมทำงานแบบ Local]
-น่าจะเป็นจุดเด่นที่สุดของ Homekit เลยก็ว่าได้ อุปกรณ์ที่ถูกเชื่อมต่อเข้า Homekit แล้วจะถูกสั่งงาน ดูสถานะ ทำตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ผ่าน Home hub (เช่น Homepod, Apple TV) ในบ้าน ดังนั้น “แม้อินเตอร์เน็ทจะหลุดไป” แต่ระบบโดยรวมจะยังทำงานตามปกติเช่น
1.1 เงื่อนไขที่ตั้งไว้จะยังทำงาน เช่น เดินเข้าห้องน้ำ-ไฟติด (ไม่ว่าอุปกรณ์นั้นจะเป็น Wifi หรือ Zigbee)
1.2 สั่งผ่านมือถือได้หากต่อ wifi เดียวกัน จะเปิดไฟ เปิดแอร์ก็ทำได้แม้ไม่มีเน็ท
1.3 เรียกดูภาพจากกล้องที่ออฟไลน์ได้ เป็นต้น
ในวันที่เน็ทล่มไป เราอาจไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำจนลูกเดินมาบอกว่าดู Youtube ไม่ได้
.
กรณี Google ระบบ 95% พึ่งพาอินเตอร์เน็ท ต่อให้มี Nest speaker ในบ้านก็แทบไม่ช่วยให้อะไร Local ขึ้นมา
ส่วน Alexa เป็นแบบกึ่ง Cloud กึ่ง Local ที่หากเลือกใช้ Speaker รุ่นที่มี Zigbee gateway ในตัวก็จะ Local ได้ในระดับนึง
.
[2. สร้างเงื่อนไขข้ามค่าย]
-เพราะไม่มีค่ายลูก (ค่ายอุปกรณ์) เจ้าไหนมีของพร้อมเพอร์เฟ็ค เราจึงต้องใช้อุปกรณ์จากหลายๆ ค่าย ซึ่งกรณี Homekit สามารถสร้างเงื่อนไขสั่งข้ามค่ายได้ แถมเป็นการสั่งแบบ Local อีกด้วยเช่น Tuya sensor สั่งเปิดหลอดไฟ Philips hue, หลอดไฟ Nanoleaf เปิดแล้วให้ปิด Aqara switch เป็นต้น
.
กรณี Google “ไม่” สามารถสร้างเงื่อนไขข้ามค่ายได้เลย เป็นจุดอ่อนขั้นร้ายแรงที่โดยส่วนตัวอยากขอร้องว่า “แก้ไขเถอะ!!”
กรณี Alexa สามารถสร้างเงื่อนไขข้ามค่ายได้โดยพื้นฐานคือผ่าน cloud server ที่ต้องการอินเตอร์เน็ท
.
[3. ประมวลผลที่ Home hub]
-ระบบ Homekit บังคับให้มี Home hub กลางบ้านต่างจากระบบของ Google และ Alexa ที่จะไม่ใช้ Smart speaker ของเค้าเลยระบบก็ทำงานได้
.
Home hub เช่น Homepod และ Homepod mini ราคาแพงเว่อ ต่อให้ mini ลดราคาแล้วก็ 3 พันกว่าบาทจะแพงไปไหน!? สาเหตุที่ราคาสูงไม่ใช่แค่เพราะเสียงดีกว่า Nest mini หรอกนะ แต่เพราะมันประมวลผลทุกอย่างที่นี่
.
เช่น หากต้องการบันทึกภาพของกล้องไว้บน iCloud มันจะเข้ารหัสที่นี่ก่อนส่งขึ้นไป หรือการแยกแยะใบหน้าจากข้อมูลภาพของกล้องก็ประมวลผลที่นี่ไม่ใช่บน Cloud
การสั่งทำงานตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ การเชื่อมต่อกับ iPhone และอุปกรณ์รอบข้างเพื่อควบคุม ล้วนแต่ทำที่ Home hub
.
เพราะฉะนั้นหากจะเทียบราคากันแล้ว Homepod mini คงไม่อาจลดตัวไปเทียบกับลำโพงรุ่นต่ำสุดของค่ายอื่นอย่าง Nest mini ของ Google หรือ Echo dot ของ Alexa ที่ไม่ทำอะไรเลยนอกจากส่งคำสั่งเสียงของเราขึ้น cloud กับงานอื่นนิดหน่อย หากจะเทียบคู่คงต้องเลือกลำโพงรุ่นแพงกว่าขึ้นไปซึ่งก็ยังประมวลผลไม่เท่า Homepod
.
[4. Siri shortcuts]
-เป็นแอปที่มี concept คือการตั้งออโตเมชั่นส่วนบุคคล ซึ่งเข้ามาเสริม Homekit ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกเช่น
4.1 ค่ายที่ไม่รองรับ Homekit ก็สามารถสั่งด้วยเสียงได้ด้วย add to siri ทำให้สมาร์ทโฮมของเราเปิดกว้างไปได้ถึงแทบทุกค่ายอุปกรณ์
4.2 ตั้งค่าแตะ NFC tag ให้สั่งงานสมาร์ทโฮม (https://bit.ly/3JQZ9wZ) ได้ง่ายมากกกก ใครใช้แอนดรอยมีอิจฉา แตะแท็กเปิดทั้งบ้าน แตะแท็กสั่ง Google ก็ยังได้
4.3 หากใครใช้ 2 ระบบในบ้าน เพียงสร้างเงื่อนไขให้ไปสั่งแอป Google assistant อีกทีก็สามารถสั่ง Google ได้เลยเช่น ใช้ Siri shortcut เพื่อสั่งกล้องที่รองรับแต่ Google ให้แสดงบนหน้าจอทีวีผ่านกล่อง True (Chromecast) เป็นต้น
.
[5. เป็นหนึ่งเดียวกับ iPhone]
-ใครใช้ iPhone อยู่จะรู้ว่าการใช้อุปกรณ์ค่าย Apple ด้วยกันเองจะมีความเข้ากันระหว่างอุปกรณ์ที่สร้างความสะดวกสบายมาก ในกรณีสมาร์ทโฮมคือ
5.1 หากหา iPhone ไม่เจอในบ้าน เพียงถาม Homepod ก็จะเปิดเสียง iPhone ให้ทันที
5.2 อุปกรณ์สมาร์โฮมควบคุมได้ที่ control center (ปัดหน้าจอลงจะเจอปุ่มที่ใช้บ่อย) และมันเรียนรู้ว่าอุปกรณ์ไหนเราใช้บ่อยก็จะแสดงเป็นปุ่มแรกๆ และเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา
5.3 หากฟังเพลงบน iPhone อยู่ เพียงใช้มือถือแตะที่ Homepod เพลงจะย้ายไปเล่นที่ Homepod ทันที (Apple music, Spotify, Youtube music ได้หมด)
.
[6. ติดตั้งง่ายมากกกกก]
-หากซื้ออุปกรณ์ใหม่มาติดตั้ง ครั้งแรกคุณอาจตกใจกับการติดตั้งง่ายเช่น ติดตั้ง Homepod นี่แค่วาง iPhone ไว้ใกล้ๆ และกดยอมรับ ที่เหลือมันแทบก็อปเซ็ตติ้งทุกอย่างไปและใช้งานได้เลย
.
ยิ่งอุปกรณ์สมาร์ทโฮมก็เพียงแค่ให้ iPhone อ่าน Homekit code บนผลิตภัณฑ์เท่านั้นมันก็จัดการกันเอง (ที่ยุ่งในการติดตั้งส่วนใหญ่เป็นฝั่ง 3rd party app มากกว่า)
.
[7. ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว]
-เป็นที่ทราบดีว่า Apple มีนโยบายความเป็นส่วนตัวที่ค่อนข้างเข้มงวด ซึ่งก็เห็นได้จากตัวระบบ Homekit เองที่แตกต่างจาก Google และ Alexa เน้นการประมวลผลที่ Home hub ข้อมูลการทำงานของอุปกรณ์ถูกสั่งการอยู่ภายในบ้านโดยไม่ถูกส่งขึ้น cloud หรือแม้แต่การเก็บภาพของ IP camera บน iCloud ก็ถูกเข้ารหัสก่อนส่งออกไปและไม่มีใครเปิดดูได้นอกจากเจ้าของแอคเคาท์ (Apple เค้ายืนยันอย่างนั้น)
.
[ส่งท้าย]
-Homekit ถูกออกแบบมาให้ทำงานแบบ Local ไม่ต้องกังวลกับความไม่เสถียรของอินเตอร์เน็ทมากนัก อีกทั้งทำงานเร็ว มีความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวสูง ฉลาดในการคิดตอบสนองความต้องการของคนใช้งานได้เป็นอย่างดี
.
แม้ในตอนเริ่มอาจต้องลงทุนมากกว่าการเลือกแพล็ทฟอร์มอื่นมากหน่อย (หลักๆ คือ Home hub กับ Gateway ที่รองรับ) แต่สิ่งที่ได้ผมคิดว่าคุ้มค่ากว่ามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ Aqara และ Tuya เข้ามามาบุก Homekit ก็ดึงราคาอุปกรณ์ที่รองรับให้เอื้อมถึงได้ง่ายๆ และหลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องพึ่ง Homebridge/Home assistant (ตั้งเซิร์ฟเวอร์เอง) ทำให้คนทั่วไปเข้าถึงง่ายขึ้น
.
.
ที่มาจากเพจเบื้องหลังสมาร์ทโฮม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *