10 ข้อที่ Alexa ทำได้แต่ Google ทำไม่ได้

หากมองระบบสั่งงานด้วยเสียงหรือผู้ช่วยส่วนตัวของสมาร์ทโฮมในสเกลระดับโลกแล้ว
Google ไม่ได้กินตลาดขาดลอยอย่างในเมืองไทย (ปัจจัยหลักคือเพราะรองรับภาษาไทยและชื่อ “Google” เองติดหูแบบไม่มีใครไม่รู้จักแน่นอน)
.
แต่ค่าย Amazon Alexa (ที่มี CEO เป็นคนที่รวยที่สุดในโลก, Jeff Bezos) กินตลาดได้ไม่แพ้กันหรือมากกว่าเสียด้วยซ้ำไป และเหล่าผู้ใช้งานสมาร์ทโฮมในต่างประเทศต่างพากันสรรเสริญนั้นเพราะอะไร
.
บทความนี้จึงขอกล่าวถึง 10 ฟังก์ชั่นที่ Alexa สร้างความต่างไว้เหนือกว่า Google
(ข้อ 1-6 ใช้เพียง Amazon Alexa App (ฟรี) ไม่จำเป็นต้องใช้ลำโพงของ Alexa, ข้อ 7-9 ต้องใช้)
.
1. สร้างเงื่อนไขข้ามค่าย
-Tuya Motion sensor จะสั่งเปิดสวิตช์ไฟ Xiaomi อย่างนั้นเหรอ!? เรื่องที่ดูยากสำหรับเราชาว cloud server แต่กรณีแบบนี้เป็นจริงได้ง่ายๆ เพียงผูกบัญชีสมาร์ทโฮมเข้ากับ “Amazon Alexa App” เราก็สามารถสานสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์ต่างค่ายได้
.
2. ใช้ Location สั่งสมาร์ทโฮม
-Alexa app ยังสามารถใช้ Location มือถือในการสั่งทุก “อุปกรณ์” หรือ “Scene” ของทุกค่ายที่ผูกบัญชีไว้ได้
ในขณะที่ Google ใช้ Location สั่งได้เพียงบางอุปกรณ์เช่น หลอดไฟ สวิตช์ ปลั๊ก เท่านั้น จะมาสั่งเปิดแอร์ ทีวีหรือระบบความปลอดภัย (Scene) ไม่ได้
.
โดยเฉพาะชาว eWeLink และ BroadLink ที่ตัวแอพเองไม่มีฟังก์ชั่นนี้ รีบผูกกับ Alexa ใช้งานเลยครับ Cloud server เค้าเสถียรอันดับต้นๆของโลก
.
3. Routine ไม่จำกัดภูมิภาค
-คำสั่ง Routine ของ Google (คำสั่งเฉพาะที่เราสร้างคำขึ้นมาเองเพื่อสั่งชุดคำสั่ง) จริงๆแล้วใช้ได้เฉพาะในภูมิภาคที่จำกัดเช่น อเมริกา แคนาดา อังกฤษ เป็นต้น
.
แต่ไทยเราใช้วิธีตั้งค่าภาษาที่ 1 เป็น Eng (US), Eng (Canada), Eng (UK) ก็สามารถใช้งานได้ และโดยพื้นฐานจะสั่งรูทีนด้วยภาษาไทยไม่ได้ ซึ่งแม้บางท่านสั่งได้ วันดีคืนดีถ้า Google ตรวจเจอก็จะสั่งงานไม่ได้
.
Alexa ไม่มีปัญหานี้ คำสั่ง Routine สามารถทำได้เป็นพื้นฐานในทุกภูมิภาค ไม่เคยมีใครบ่นว่า “แอดครับ ผมหา Routine ไม่เจอ”
.
4. คำสั่งค่อยๆลด/เพิ่มความสว่างแสงไฟ
-Alexa มีคำสั่งค่อยๆเปิดไฟเช่น จาก 0% เป็น 100% ใน 15 นาที หรือตรงกันข้ามค่อยๆปิดไฟเป็น 0% ใน 10 นาที เป็นต้น อยากจะให้ไฟในห้องนอนค่อยๆสว่างขึ้นเพื่อปลุกตอนเช้าก็ทำได้หรือจะค่อยๆมืดลงก่อนนอนก็ได้ ไม่ต้องสร้างออโตเมชั่นเป็นขั้นๆให้ยุ่งยาก
.
5. คำสั่ง PIR ไม่พบการเคลื่อนไหว xx นาที
-คนใช้ Wifi PIR หลายคนไม่มีคำสั่ง “ไม่พบการเคลื่อนไหว xx นาที = ปิดไฟ” ในแอพของตัวเอง ปัญหานี้แก้ได้ง่ายๆด้วยการผูกบัญชีเข้ากับ Alexa พี่เค้าจะช่วยนับเวลาให้และนำไปใช้เป็นคำสั่งต่อไป
.
6. ฟังก์ชั่น “Guard” ช่วยเปิดปิดไฟเฝ้าบ้าน
-ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยเราเปิดปิดไฟทุกค่ายที่ผูกบัญชีไว้เวลาเราไม่อยู่บ้านแบบสุ่มแต่ไม่มั่ว สร้างสภาพเหมือนมีคนอยู่บ้านให้โจรกลัว
.
7. ฟังก์ชั่น “Guard” ช่วยตรวจจับเสียงเฝ้าบ้าน
-ฟังก์ชั่นนี้จะใช้ไมค์ของลำโพง Alexa ตรวจจับเสียงกระจกแตกหากมีคนบุกรุก (Alexa ทดสอบการทุบกระจกหลายร้อยชนิดด้วยอุปกรณ์หลายๆแบบเพื่อเป็นฐานข้อมูล) และตรวจจับเสียงไซเรนจากอุปกรณ์เตือนภัยในบ้าน และแจ้งเราทางมือถือ
.
8. สั่งให้ลำโพง Alexa พูดได้ด้วยอุปกรณ์สมาร์ทโฮม
-เปิดบ้านมาแล้ว Alexa กล่าวต้อนรับอย่างอบอุ่น หรือเจอคนบางจุดแล้วลำโพงแจ้งเตือน เป็นสิ่งที่ตั้งค่าได้ง่ายมากใน Alexa
กรณี Google แม้ในทางปฏิบัติจะทำได้แต่ต้องลงแรงมากหน่อยเช่น ใช้ Home assistant หรือ Tasker
.
9. โทรคุยกันระหว่างลำโพง
-Google Broadcast เป็นการส่งคำพูดเราไปยังลำโพงตัวอื่น “ทางเดียว”
แต่ Alexa Drop in คือการคุยกันได้ระหว่างลำโพงแบบ “สองทาง”
(คำถามคือทำไม Google ไม่ทำ!?)
.
10. อื่นๆ (Whispering/Hunches/Energy dash board)
-ยังมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากมายที่ Alexa คิดเผื่อเราในการใช้ชีวิตกับสมาร์ทโฮมเช่น Hunches จะช่วยเราปิดไฟที่ควรปิดเมื่อเราเข้านอนหรือปล่อยทิ้งไว้ถ้าเราต้องการ / Energy dashboard ช่วยดูเวลาสะสมของการเปิดไฟ สวิตช์ ปลั๊กของแต่ละช่วงเวลา เป็นต้น / กระซิบใส่ลำโพง Alexa หล่อนกระซิบกลับ ไม่ใช่ตอบกลับเสียงดังอย่าง Google!!
.
ผมเองก็ใช้ลำโพงของ Google เป็นหลักในการสั่งงานด้วยเสียงในบ้าน และใช้ Alexa app ทำงานออโตเมชั่นข้ามค่ายเป็นแบ็คกราวด์ข้างหลัง
.
หากท่านใดไม่ติดเรื่องการใช้งานภาษาไทย โดยส่วนตัวผมก็อยากแนะนำให้ใช้ Alexa เป็นหลัก
แต่จะใช้ Google ควบคู่กับ Alexa app เพื่อเพิ่มลูกเล่นและประสิทธิภาพของสมาร์ทโฮมให้สูงขึ้น ก็ยิ่งดีนัก
.
ลิงค์สินค้า
Amazon Echo Dot 4 (1,890บาท): https://shp.ee/zhjm8st
Google Nest mini (790 บาท): https://shp.ee/z34m689

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *