ตกลงแล้ว Aqara Human Presence Sensor ดีมั้ย?

[ตกลงแล้ว Aqara Human Presence Sensor ดีมั้ย?]
.
จะตอบคำถามนี้ได้ก่อนอื่นต้องเข้าใจเซนเซอร์ชนิดใหม่นี้ และคุณสมบัติของคลื่นที่ใช้ก่อน
.
[หลักการพื้นฐาน]
-Presence Sensor เป็นเซนเซอร์ตรวจจับการมีอยู่ของมนุษย์โดยใช้หลักการเรดาห์ กรณีของ Aqara คือยิงคลื่นความถี่ 60GHz (ความยาวคลื่น 5 มิลลิเมตรเราจึงเรียกว่า “คลื่นมิลลิเมตร”) และนำคลื่นที่สะท้อนกลับมาวิเคราะห์หาระยะและทิศทาง
.
เพราะฉะนั้นโดยหลักการแล้วมันตรวจจับทุกสิ่งที่เคลื่อนไหว (ไม่ใช่จับเฉพาะความร้อนอินฟราเรดจากมนุษย์อย่าง PIR) ความสามารถของเซนเซอร์ส่วนหนึ่งจึงขึ้นกับคนพัฒนาด้วยว่าจะเขียนโปรแกรมแยกแยะอย่างไรว่าสิ่งเคลื่อนไหวนั้นเป็นคนหรือไม่
.
[คุณสมบัติของคลื่นมิลลิเมตร]
-เนื่องจากคลื่นที่ใช้ยิงออกไปมีความถี่สูงกว่าย่านไมโครเวฟ (เช่น Wifi) มาก หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือคุณสมบัติจะเข้าใกล้แสงมากกว่า
1.ทะลุกำแพงได้แต่น้อยกว่า wifi และน้อยกว่า Microwave radar แบบเก่ามาก
2.แต่ยังทะลุพลาสติก กระดาษ และผ้าได้ระดับดี
3.ถูกโลหะบังสัญญาณได้เหมือนคลื่นทั่วไป
4.ถูกดูดซับโดยน้ำได้ง่าย
5.จริงๆแล้วคลื่นมิลลิเมตรตรวจจับระยะไกลได้แม่นกว่าใกล้
(อ่านที่มาของคลื่นมิลลิเมตรได้ที่ bit.ly/3JV0MtI)
[การใช้งาน Aqara Presense Sensor]
.
[1.] ตำแหน่งติดตั้งสำคัญมาก
-จากรูปเป็นการติดตั้งตามคู่มือคือ สูงจากพื้น 1.8 เมตร กดเซนเซอร์ให้ต่ำลงเล็กน้อยครอบคลุมพื้นที่ห้องตามต้องการ หันเข้าหาคนแบบไม่มีสิ่งกีดขวาง
.
-> เมื่อตำแหน่งไม่เหมาะสม
ตอนแรกเคยติดตั้งจากฝั่งด้านหลังคนนั่ง (คือมีเก้าอี้กั้นระหว่างเซนเซอร์กับคน) และสูงเพียงระดับเอว การตัดสินว่า “ไม่มีคน” ผิดพลาดบ่อย
[2.] การทะลุสิ่งกีดขวางและสภาพแวดล้อม
-กรณีของ Aqara แม้ปรับเป็น High sensitivity คลื่นก็ไม่ทะลุผนังปูนและกระจก แก้ปัญหา Microwave radar แบบเดิมที่คลื่นทะลุกำแพงจนตรวจจับคนแม้ยังอยู่ห้องข้างๆ และออกแบบมาดีกว่า Tuya รุ่นนึงที่ทะลุผนังหากตั้งค่าสูงไป
.
ที่ต้องระวังคือการหันเซนเซอร์ออกไปทางนอกบ้านหรือก็คือสภาพแวดล้อมเปิด วันฝนตกเซนเซอร์แจ้งว่ามีคนตลอดเวลา (คลื่นนี้ไวต่อน้ำมาก) กรณีนี้อาจต้องปรับ sensitivity เป็น Low
.
[3.] ปัญหาพัดลม
-เป็นที่พูดถึงในวงกว้างเรื่องการตัดสินผิดพลาดเมื่อมีพัดลมอยู่ในห้อง จากการเทสพบว่า
-> เมื่อเปิดพัดลมแรงหรือพัดลมส่าย = ตัดสินว่าเป็นคน
-> เมื่อเปิดพัดลมเบา = ตัดสินได้ว่าไม่ใช่คน
เรื่องนี้คงต้องอาศัยความสามารถของซอฟแวร์ที่จะหาวิธีตัดสินใหม่ซึ่งคนพัฒนาคงต้องทำงานอย่างหนัก สรุป ณ ตอนนี้จึงไม่ควรใช้ในห้องที่มีพัดลม
[4.] แยกโซน / ทำ Mapping
-จุดเด่นของ Aqara ที่ทำให้เซนเซอร์ตัวนี้ดูล้ำคือการสร้างออกมาเป็นภาพและแยกโซนพร้อมตั้งชื่อได้ มีสิ่งของจำลองวางเป็นรูปห้องได้ และตรวจจับคนสร้างเป็นรูปคนขยับไปมาแบบเรียลทาม (คลิป bit.ly/3AnOirm)
.
ที่ล้ำขึ้นไปอีกคือตั้งค่าได้ว่าหากมีใครเข้าออกโซนเล็กๆ อันใดที่เรากำหนดจะให้แจ้งเตือนหรือเปิดไฟโต๊ะนั้นก็ได้
หรือแค่มีคนเดินเข้าหาเซนเซอร์ (ปรับระยะเข้าใกล้ได้) จะให้แจ้งเตือนก็ได้สำหรับคนที่ติดไว้บนตู้เซฟ555
.
[5.] ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรเกิด
-ความช้าในการเปิดไฟ!! น่าจะประมาณ 5-7 วินาทีหลังเราเดินเข้าห้องกว่าเซนเซอร์จะรับรู้และเปิดไฟให้ ถือว่าช้ามากๆ ต้องรีบแก้ด่วน ก็ฝากทีมงาน Aqara ปรับปรุงด้วย (คาดว่าเป็นปัญหาซอฟต์แวร์มากกว่า Tuya เค้ายังเปิดเร็วเลย)
[ภาพรวม]
-สุดท้ายผมใช้งานร่วมกับ PIR (มีของเยอะอ่ะนะ) เพื่อเปิดไฟอย่างรวดเร็วแต่คำสั่งปิดใช้ Presence sensor ที่จะปิดไฟหลังไม่เจอคน 15 วินาที ทำให้ภาพรวมออกมาห้องออฟฟิศเปิดปิดไฟได้แบบถูกต้อง รวดเร็ว ไม่มีอาการไฟดับเพราะนั่งนิ่งหน้าคอมนานเกินไป
.
ใครเข้าใกล้เฉพาะโซนโต๊ะผม (เมียมาแอบเปิดคอม?) ก็จะมีการแจ้งเตือน
สถานะแสดงละเอียดมากแทบทุกกิจกรรม เจอคน มีคนคนเข้าใกล้/ออกห่าง ไม่เจอคน และยังสร้างเป็นกราฟบอกระยะเวลาที่คนอยู่ไม่อยู่
.
สุดท้ายถามว่า Aqara Presence sensor ดีมั้ยผมขอตอบแบบน่าเกลียดๆ ว่า “ดี ถ้าใช้งานคู่กับ PIR” ถ้ายอมเรื่องนี้ไปก่อนก็จะพบกับประสบการณ์ใหม่ของการ “เปิดปิดไฟฉับไวนั่งนิ่งไฟไม่ดับ” ได้และยังระบุการเคลื่อนไหวเฉพาะพื้นที่ที่เรากำหนดเพื่อนำค่าไปใช้งานได้อีกด้วย
.
Aqara Presence Sensor (China Ver.)
ร้านจีน (1,599.-): https://shope.ee/8zSrQmUiwr
ร้านไทย (1,990.-): https://shope.ee/4fJsGlv5uq
.
#Aqara
.
ที่มาจากเพจเบื้องหลังสมาร์ทโฮม[ตกลงแล้ว Aqara Human Presence Sensor ดีมั้ย?]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *